วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ ๑ ภาพพจน์

                                                        แบบทดสอบก่อนเรียน

                                
                                                      บทที่  ๑
                                                  ภาพพจน์
ความหมายของภาพพจน์

            ภาพพจน์เป็นการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหาร ที่ทำให้ผู้รับสารเกิดมโนภาพ  เกิดจินตนาการ ถ่ายทอดอารมณ์ ทำให้มีความรู้สึกร่วมตรงตามความปรารถนาของผู้ส่งสาร        




ประเภทของภาพพจน์


ภาพพจน์ที่ใช้ในการสื่อสารมีอยู่มากมายหลายประเภท ดังนี้





1.  อุปมาอุปไมย ( Simile)  คือ  การนำสิ่ งที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมาเปรียบเทียบกัน เช่น ขาวเหมือนสำลี, สวยราวกับนางฟ้า เป็นต้น





  2.  อุปลักษณ์ ( Metaphor)   คือ การเปรียบเทียบด้วยการกล่าวว่าสิ่งหนึ่งนั้นเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เป็นการ    เปรียบเทียบที่ไม่ กล่าวตรงๆ  แตกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอง  เช่น ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ ,  ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นต้น  
 
    3. บุคลาธิษฐาน (Personification) คือ การเปรียบเทียบโดยการนำเอาสิ่งไม่มีชีวิตหรือมีชีวิต แต่ไม่ใช่คนมา  กล่าวถึงราวกับเป็นคนหรือท่ากิริยาอาการอย่างคน  เช่น พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง , ท้องฟ้าร้องไห้ เป็นต้น



4.  อติพจน์ ( Hyperbole)  คือ การกล่าวเกินจริง  ซึ่งเป็นความรู้สึกหรือความคิดของ ผู้กล่าวที่ต้องการย้ำความหมายให้ผู้ฟังรู้สึกว่าหนักแน่นจริงจัง  เช่น รักเท่าฟ้า , ล ำบากเลือดตาแทบกระเด็น เป็นต้น



5.  นามนัย ( Metonymy)   คือ การเปรียบเทียบโดยการใช้ค ำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่นหรือ    ลักษณะสำ คัญของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   เช่น เมืองชาละวัน หมายถึงจังหวัดพิจิตร , ทีมเสือเหลือง หมายถึง ทีมมาเลเซีย เป


6 ปรพากย์ (Paradox) คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าวร่วมกันได้อย่าง กลมกลืนกัน เช่น ทำคุณบูชาโทษ , หนีร้อนมาพึ่งเย็น เป็นต้น 



7.  สัทพจน์ (Onomatopoeia)  คือ การใช้ถ้อยค าที่เลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อช่วยสื่อให้ผู้รับสารรู้สึกเหมือน ได้ยินเสียงโดยธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ  เช่น ฟ้าผ่าดัง เปรี้ยง , นกร้อง จิ๊ บๆ , แก้วแตกดัง เพล้ง เป็นต้น
8. สัญลักษณ์ (Symbol) คือ การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยใช้คำอื่นแทนคำที่ ใช้เรียกนั้นเกิดจากการเปรียบเทียบและ   ตีความซึ่ งใช้กันมานานจนเป็นที่ เข้าใจกันโดยทั่วไป เช่น ดอกกุหลาบ คือสัญลักษณ์ของความรัก , สีด า เป็น        สัญลักษณ์ของความชั่วร้าย เป็นต้น